คอร์สอบรม DevOps หลักสูตรระยะสั้น กระชับ เน้น Workshop

เรียนรู้ DevOps สมัยใหม่พร้อมเครื่องมือสำคัญ เช่น Docker Kubernetes Terraform Datadog Kong GitOps Microservices และ CI/CD

สามารถเลือกการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง คือ
รอบสอนสดออนไลน์
4,500 ฿
(วันอบรม 20 - 21 เม.ย. 2567, วัน เสาร์ - อาทิตย์)
วิดีโอบันทึกการสอน
3,950 ฿
รายละเอียด
ความคิดเห็น

รายละเอียดคอร์ส

DevOps เป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติที่สำคัญขององค์กร IT ยุคใหม่ เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เน้นการรวมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Dev) และ IT operations (Ops) ผ่านเครื่องมือ แนวคิดและการเน้นขั้นตอนการทำงานแบบอัตโนมัติ อันจะนำไปสู่การนำผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น

คอร์สนี้เป็นหลักสูตรเร่งรัดเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของ DevOps และการประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโลกของ DevOps เช่น Docker, Kubernetes, Terraform, Kong API Gateway, DataDog, Git, Github Workflow รวมถึงหลักการสำคัญต่าง ๆ เช่น Cloud Computing, Microservices, CI/CD, GitOps และ Loging, Tracing และ Monitoring เป็นต้น ผ่าน Workshop ที่แสดงการใช้งานเครื่องมือสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น

หลักสูตรเริ่มต้นจากการอธิบายถึงความหมายของ DevOps ความสำคัญและประโยชน์ของ DevOps รวมถึงศัพท์ต่าง ๆ ในโลกของ DevOps เช่น Infrastructure as Code (IaC), Configuration as Code (CaC) และ CI / CD เป็นต้น พร้อมด้วยรูปแบบการปรับเปลี่ยนทีมเพื่อเป็นองค์กรแบบ DevOps

ส่วนถัดมาของเนื้อหาจะกล่าวถึงเทคโนโลยีแบบ Cloud Computing และการออกแบบแอปพลิเคชันแบบ Cloud Native รวมไปถึง การออกแบบและใช้งาน Microservices และการสื่อสารระหว่างเซอร์วิสทั้งแบบ Synchronous และ Asynchronous โดยศึกษากระบวนการของ Data Consistency ผ่าน Saga Pattern

การส่งมอบโค้ดสู่ Microservices นั้นเรานิยมสร้างการทำงานของแต่ละเซอร์วิสผ่านเทคโนโลยี Container ส่วนนี้เราจะได้รู้จักกับการใช้งาน Docker การใช้งาน Containers การสร้าง Images ผ่าน Dockerfile การใช้งาน Muti-stage Build และ Docker Compose

การใช้งาน Microservices นั้นโดยทั่วไปเราจะไม่ให้โลกภายนอกติดต่อกับเซอร์วิสแต่ละตัวโดยตรงแต่จะกระทำการติดต่อผ่านสิ่งที่เรียกว่า API Gateway ในบทเรียนถัดมาผู้เรียนจะได้รู้จักกระบวนการทำงานของ API Gateway และการตั้งค่าเพื่อใช้งาน Kong API Gateway อีกด้วย

หนึ่งในหลักการสำคัญที่ผสานการทำงานเข้ากับ DevOps คือหลักปฏิบัติของ GitOps ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่มุ่งเน้นไปที่กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติผ่านการใช้งาน Git และ CI/CD ส่วนนี้ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความหมายและหลักการของ GitOps

หนึ่งในหลักการของ GitOps คือ Infrastructure as Code (IaC) อันเป็นหลักการที่ว่าด้วยวิธีในการจัดการและสร้างส่วนของ Infrastructure ผ่านไฟล์ที่มีรูปแบบโครงสร้างที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่เราจะศึกษาผ่านคอร์สนี้โดยอาศัยเครื่องมือในการปฏิบัติการณ์คือ Terraform

แอปพลิเคชันโดยทั่วไปนั้นเมื่อมีการทำงานแล้วย่อมมีการทำ Logging อันเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่บอกถึงสถานะ การทำงาน หรือข้อผิดพลาดอันเกิดจากการทำงานของโปรแกรมนั้น ๆ รวมถึงสามารถมีส่วนของ Tracin เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าผู้ใช้งานเข้าถึงเซอร์วิสใดด้วยพฤติกรรมแบบใดบ้าง และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ Monitoring เป็นการสอดส่องทรัพยากรระบบว่ามีการใช้งานทรัพยากรในระดับใดบ้าง ทั้งหมดนี้จะได้ทำการศึกษาผ่านเครื่องมือคือ Datadog

เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของ GitOps สมบูรณ์ ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความหมายและรูปแบบการทำงานของ Continuous Integration และ Continuous Delivery/Deployment (CI / CD) ผ่านการใช้งาน Github บนฟีเจอร์ที่เรียกว่า Github Workflow และ Github Actions

ช่วงต้นของคอร์สเราได้ศึกษาถึงการใช้งาน Docker เพื่อจัดการ Containers ไปแล้ว เราจะนำความรู้ดังกล่าวขยายไปสู่การหลักการที่เรียกว่า Container Orchestration ผ่านเครื่องมือยอดนิยมคือ Kubernetes ผู้เรียนจะได้รู้จักกับการใช้งานทรัพยากรต่าง ๆ ใน Kubernetes เช่น Pods, Deployments, ReplicaSet, Services และ ConfigMap รวมไปถึงหลักการสำคัญของทรัพยากรประเภท Horizontal Pod Autoscaler (HPA) ใน Kubernetes เพื่อจัดการการสเกล Workload อย่างอัตโนมัติ

ท้ายสุดของคอร์สจะเข้าสู่บทส่งท้ายที่กล่าวถึง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแบบ DevOps และ กรณีศึกษาการใช้งาน DevOps จากสถานการณ์ตัวอย่างขององค์กรต่าง ๆ

เนื้อหาบทเรียน

คอร์สนี้เป็นหลักสูตรอบรม 2 วัน ประกอบด้วยเนื้อหาตามวันดังต่อไปนี้

วันที่: 1
Unit
1
ก้าวแรกสู่ DevOps
เรียนรู้ความหมายของ DevOps ลักษณะสำคัญ ประโยชน์ และศัพท์สำคัญที่ควรทราบ
DevOps คืออะไร
ลักษณะสำคัญของ DevOps
DevOps Infinity Loop
คำศัพท์ DevOps ที่ควรทราบ
ประโยชน์ของ DevOps
DevSecOps
IT ในรูปแบบเดิม VS DevOps
Unit
2
Cloud Computing
เรียนรู้ความหมายของ Cloud Computing ประเภท และลักษณะสำคัญต่าง ๆ
ประเภทของ Cloud Computing
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน
ตัวอย่างของผู้ให้บริการ
ตัวอย่างบริการของ AWS
ประโยชน์ของ DevOps
Cloud Native คืออะไร
Cloud Computing กับ DevOps
Unit
3
Microservices
เรียนรู้ความหมายของ Microservices การออกแบบและการสื่อสารระหว่างเซอร์วิส
Microservices คืออะไร
ลักษณะพื้นฐานของ Microservices
API Gateway คืออะไร
การสื่อสารระหว่างเซอร์วิส
เมื่อไหร่ควรใช้การสื่อสารแบบใด
Saga Pattern
Compensating Transactions
Unit
4
Docker
เรียนรู้ความหมายของ Containers การใช้งาน Docker และการสร้าง Images
ปัญหาของเทคโนโลยี Virtualization
ประวัติย่อของเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์
การทำงานของ Docker
การใช้งาน Docker Compose
การสร้าง Docker Images
การเผยแพร่ Docker Images
Unit
5
Kong API Gateway
เรียนรู้ความหมายของ API Gateway และการใช้งาน Kong Gateway
API Gateway คืออะไร
คุณสมบัติของ API Gateway
การใช้งาน Kong Gateway
Unit
6
Terraform
เข้าใจหลักการของ Infrastructure as Code ผ่านการทำงานของ Terraform
การ Setup Cloud Providers ด้วยตนเอง
ปัญหาของการ Setup Cloud Providers ด้วยตนเอง
Terraform คืออะไร
ส่วนประกอบของ Terraform
การใช้งาน Terraform
วันที่: 2
Unit
7
GitOps
เรียนรู้ทฤษฎีและความหมายของ GitOps รวมถึงรูปแบบการใช้งาน
ทำไม GitOps จึงจำเป็น
หลักการของ GitOps
GitOps Workflow
Unit
8
CI / CD ด้วย Github Workflow
เรียนรู้หลักการสำคัญของ Continuous Integration และ Continuous Delivery/Deployment ผ่านการใช้งาน Github Workflow
CI / CD คืออะไร
Github Workflow และ Github Actions
การสร้างการทำงานของ CI ด้วย Github Workflow
การสร้างการทำงานของ CD ด้วย Github Workflow
Unit
9
Logging, Tracing และ Monitoring ด้วย Datadog
เรียนรู้การใช้งาน Datadog เพื่อทำ Logging, Tracing และ Monitoring
Logging คืออะไร
Tracing คืออะไร
Monitoring คืออะไร
Datadog คืออะไร
การทำ Logging บน Datadog
การทำ Tracing บน Datadog
การทำ Monitoring บน Datadog
Unit
10
Kubernetes
เรียนรู้หลักการสำคัญของ Container Orchestration ผ่านการใช้งาน Kubernetes
Container Orchestration
Pods
Multi-Container Design Patterns
Deployments
Services
ConfigMap
Unit
11
Horizontal Pod Autoscaler
เรียนรู้หลักการสำคัญของทรัพยากรประเภท Horizontal Pod Autoscaler (HPA) ใน Kubernetes เพื่อจัดการ Workload
รู้จักกับ Horizontal Pod Autoscaler
ติดตั้ง Metrics Server
การเรียกใช้งาน HPA
ทดลองเพิ่มและลดโหลดของ API
การตั้งค่าการทำงานของ HPA ผ่านไฟล์ YAML
Unit
12
บทส่งท้าย
ก่อนจบคอร์สเราจะได้กล่าวถึง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแบบ DevOps และ กรณีศึกษาการใช้งาน DevOps
การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแบบ DevOps
กรณีศึกษาการใช้งาน DevOps

ขอใบเสนอราคา

หากต้องการขอใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ หนังสือชี้ชวนการเข้าอบรม และเอกสารอื่น ๆ รบกวนคุณลูกค้าติดต่อ เพจ Babel Coder หรือทางอีเมล์ babelcoder@gmail.com ได้ครับ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • ผู้เรียนเข้าใจหลักการของ DevOps ความสำคัญ และการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรแบบ DevOps
  • ผู้เรียนเข้าใจหลักการของ Cloud Computing และการออกแบบ Microservices เบื้องต้น
  • ผู้เรียนสามารถใช้งาน Docker เพื่อกำหนดการทำงานของ Containers และสร้าง Images ผ่าน Dockerfile ได้
  • ผู้เรียนเข้าใจหลักการของ API Gateway และการใช้งาน Kong เบื้องต้น
  • ผู้เรียนสามารถใช้ Terraform เพื่อกำหนดการทำงานแบบ Infrastructure as Code เบื้องต้นได้
  • ผู้เรียนเข้าใจหลักการของ GitOps และการสร้างการทำงานแบบ CI / CD ผ่าน Github Workflow เบื้องต้นได้
  • ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำ Logging, Tracing และ Monitoring ด้วย Datadog เบื้องต้น
  • ผู้เรียนทราบถึงหลักการสำคัญของ Container Orchestration และการใช้งาน Kubernates เบื้องต้น

คอร์สนี้เหมาะกับใคร

  • ผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้หลักการ DevOps อย่างครอบคลุมในระยะเวลาอันสั้น
  • ผู้เรียนที่ต้องการทราบการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ใน DevOps เบื้องต้น
  • ผู้เรียนที่ต้องการเข้าใจ DevOps ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในระยะเวลาอันสั้นอย่างครอบคลุม
  • นักพัฒนาโปรแกรมที่สนใจด้าน DevOps
  • นักวิเคราะห์ระบบที่ต้องการทราบองค์รวมของงานด้าน IT และการวางระบบ
  • องค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนจากแนวทางปฏิบัติเดิมสู่โลกของ DevOps
  • นักศึกษาหรือผู้สนใจทั่วไปที่มีพื้นฐานความรู้ด้านกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น

  • ผู้เข้าอบรมต้องสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้
  • ผู้เข้าอบรมต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Life Cycle)
  • ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานการใช้งาน Git มาก่อน

ผู้สอน

Nuttavut Thongjor

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ประสบการณ์กว่า 10 ปี ผู้ก่อตั้ง Babel Coder วิทยากรอบรมการพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ให้คำปรึกษาในบริษัทชั้นนำ

คำถามพบบ่อย

คำถาม: ระยะเวลาศึกษาของหลักสูตรนี้
คำตอบ: หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร 2 วัน เวลาสอนต่อวันคือ 6 ชั่วโมง (ตลอดหลักสูตรรวม 12 ชั่วโมง) เวลา 10.00 - 17.00 น.

คำถาม: รูปแบบการอบรมเป็นอย่างไร
คำตอบ: หลักสูตรนี้จำหน่ายสองรูปแบบ คือ แบบหลักสูตรอบรมออนไลน์สอนสดผ่านเว็บ (แพคเกจนี้รวมบันทึกการสอนย้อนหลังแล้ว) และแบบวิดีโอบันทึกการสอน โดยหลักสูตรนี้จะสอนเน้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจริงผ่าน Workshop

คำถาม: ระยะเวลาการเข้าชมเป็นอย่างไร
คำตอบ: ระยะเวลาการเข้าชมขึ้นอยู่กับรูปแบบการลงทะเบียน ดังนี้

  • กรณีบุคคลธรรมดา: ผู้เรียนสามารถเข้าถึงวิดีโอบันทึกการสอนได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเวลาในการเข้าถึงเนื้อหา
  • กรณีนิติบุคคลและองค์กร: กรณีของการลงทะเบียนแบบนิติบุคคลอันได้แก่ การลงทะเบียนโดยใช้อีเมล์ขององค์กร การโอนชำระด้วยบัญชีขององค์กร และ การออกเอกสารในนามของผู้ซื้อองค์กร จะจำกัดการเข้าถึงสื่อการสอนและบันทึกการสอนได้ภายในระยะเวลา 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน)

คำถาม: สามารถขอใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ หนังสือชี้ชวนการเข้าอบรมได้อย่างไร
คำตอบ: รบกวนคุณลูกค้าติดต่อ เพจ Babel Coder หรือทางอีเมล์ babelcoder@gmail.com เพื่อขอเอกสารต่าง ๆ ครับ

สอบถามเพิ่มเติมโปรดติดต่อ เพจ Babel Coder

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บข้อมูล

เราจัดเก็บข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ เราสามารถนำเสนอสิ่งที่คุณสนใจเป็นพิเศษเมื่อคุณกด "ยอมรับทั้งหมด" ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมในการใช้งานผ่าน "การตั้งค่า" หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเราเข้าใจว่าคุณให้ความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดแล้ว อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว